29 ก.ย. 2561

หินภูเขาไฟหรือหินพัมมิสคืออะไร

หินภูเขาไฟ หรือหินพัมมิส ( Pumice stone )

"หินภูเขาไฟ" เกิดขึ้นจากการเย็นตัวของหินหลอมเหลวใต้พื้นโลก หรือที่เราเรียกกันว่า “ลาวา”

 
หินภูเขาไฟ
หินภูเขาไฟ


ลาวาเหล่านี้เกิดจากการหลอมละลายหิน และ แร่ธาตุต่างๆ ด้วยความร้อนใต้พื้นโลก ด้วยเหตุนี้ หินลาวาจึงมีสสาร และแร่ธาตุมากมายดังนี้
SiO2 (ซิลิกา) = 62.53 %
CaO (แคลเซียมออกไซด์) = 3.88 %
MgO (แมกนีเซียมออกไซด์) = 0.43 %
Na2O (โซเดียมออกไซด์) = 1.14 %
K2O (โพแทสเซียมออกไซด์) = 0.58 %
Fe2O3 (เฟอร์ริกออกไซด์) = 3.51 %
Al2O3 (อะลูมินา) = 24.57 %
MnO2 (แมงกานีสไดออกไซด์) = 0.12 %

หินภูเขาไฟ พัมมิสมีแร่ธาตุจากแหล่งธรรมชาติคุณภาพสูง ประกอบด้วย แร่ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียมคาร์บอเนต ที่มีค่า pH สูง ช่วยแก้ไขความเป็นกรดของดิน ทำให้ดินมีสภาพดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังประกอบด้วยซิลิกาอยู่มาก ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยปรับสมดุลและทำงานร่วมกับธาตุอื่นๆ  ในการดูดซึมธาตุอาหารเข้าสู่ต้นพืชได้ง่าย ส่งเสริมให้พืชมีการเจริญเติบโตแข็งแรง ต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี


หินภูเขาไฟ
ตัวอย่างหินภูเขาไฟ

ประโยชน์ของหินพัมมิสที่มีต่อต้นไม้ที่เรารัก

  • ช่วยกักเก็บน้ำ ความชื้น และสารละลายปุ๋ยต่างๆ ที่ใส่ลงในดินให้อยู่ได้นานมากขึ้น โดยไม่ถูกชะล้างออกไปได้ง่าย
  • ปรับปรุงสภาพดินให้มีความโปร่ง ร่วนซุย
  • แก้ไขปัญหาสภาพความเป็นกรดในดินเปรี้ยว
  • เพิ่มอัตราการดูดซึมแร่ธาตุอาหารพืช ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมให้พืชมีการเจริญเติบโต แข็งแรง ต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี
  • กักเก็บธาตุอาหาร และเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ 

หินภูเขาไฟ
การใช้หินภูเขาไฟผสมดินปลูก

วิธีใช้
นำหินภูเขาไฟไปแช่น้ำพอหมาดๆ โดยสามารถใช้ได้หลายแบบตามผู้ปลูกต้องการ โดยสามารถใช้วางลงใต้ก้นกระถาง , ผสมดินปลูก , วางไว้หน้าดิน หรือใช้หินอย่างเดียวแทนดินก็ยังได้ เพราะสามารถรักษาความชุ่มชื้นสำหรับต้นไม้ได้อย่างดีเยี่ยม แม้หินภูเขาไฟจะมีคุณสมบัติอุ้มน้ำไว้ได้ดี แต่ยังต้องคอยรดน้ำ โดยสามารถสังเกตได้จากสีของหิน หากเริ่มแห้ง หรือขาวขึ้นก็ควรรดน้ำเพิ่มเติม

 หากท่านสนใจหินภูเขาไฟที่จะเลือกไปใช้งานสามารถเลือกดูได้จากลิงค์นี้จ้า คลิกๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น